บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ
1. จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้
พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง
วิธีการปฏิบัติ ที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน
เพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพ ในเรื่องของความรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือ
ความถูกต้อง เป็นต้น
ตัวอย่างเทคโนยีที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
สารสนเทศ (Information) หมายถึง
ข้อมูลดิบ
ที่ได้ผ่านการประมวลผล จากคอมพิวเตอร์มา แล้ว คือผ่านการคำนวณ การจัดเรียง
การเปรียบเทียบ เป็นต้น ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อผู้ที่์์์์ี่ เกี่ยวข้องได้
ตัวอย่างการหาข้อมูล
เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงหมายถึง
วิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน
เพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพ ในเรื่องของความรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือ
ความถูกต้อง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีการนำคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร โทรคมนาคม
และเทคโนโลยีสำหรับการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม มาทำงานร่วมกัน
เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ โดยนำข้อมูลป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
แล้วทำการประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ การที่จะได้ผลลัพธ์
จะต้องทำการป้อนข้อมูลดิบที่เป็น ตัวเลข ตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพ เคลื่อนไหว หรือเสียงต่าง ๆ
เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำการประมวลผล ผลลัพธ์ที่ได้ คือสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้งานด้านต่าง ๆ ได้
ตัวอย่างเทคโนยีที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงินและการพาณิชย์
ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของเครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัติ เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝาก
ถอน โอนเงิน และนำคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วยในการทำงานประจำวันของ
ธนาคารด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลของธนาคารต่างสาขา ต่างธนาคาร ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเบิก
ถอน โอนเงินชำระเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้โดยสะดวก
ข้อมูล
(Data) หมายถึง
ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง
ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่
เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด
ๆ ที่สำคัญจะ
ต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น
ต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น
ตัวอย่างข้อมูลนักเรียน
จำนวนนักเรียนที่ได้จากการแจกแจงข้อมูลตามปีเกิดจะเป็นสารสนเทศที่เกิดจากการนำข้อมูลไปทำการประมวลผลในบางครั้งผลสรุปจากการประมวลผลข้อมูลแบบหนึ่ง
อาจนำไปใช้เป็นข้อมูลในการประมวลผลอีกแบบหนึ่งก็ได้ เช่น
ในการหาระดับคะแนนเฉลี่ยวิชาต่าง ๆ ของนักเรียนจะต้องเริ่มจากการหาระดับคะแนนของแต่ละวิชาของนักเรียน
จากข้อมูลคะแนนของนักเรียนแล้วหาระดับคะแนนเฉลี่ยของนักเรียน จากข้อมูลข้อมูลที่เป็นระดับคะแนนระดับวิชาซึ่งเป็นสารสนเทศจากการหาระดับ
คะแนน
ฐานความรู้
หมายถึง
เป็นฐานข้อมูลชนิดพิเศษสำหรับการจัดการความรู้
ฐานความรู้เป็นแหล่งเก็บสารสนเทศที่มีวิธีการรวบรวม จัดการแบ่งบัน สืบค้น
และนำสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ มันอาจเป็นฐานความรู้ที่เครื่องอ่านได้
หือตั้งใจให้มนุษย์ใช้งานอย่างใดอย่าง
2.โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายตัวอย่าง
ระบบสารสนเทศส่วนใหญ่จะมีโครงสร้างคล้ายรูปทรงปิระมิด คือ มีฐานกว้าง ยอดเป็น
มุมแหลม
ซึ่งหมายถึงขอบเขตความกว้างขวางของปริมาณข้อมูลที่มีมากในระดับล่าง และลดหลั่น
ลงไปเมื่อถึงยอด แบ่งออกเป็น 4 ระดับชั้น โดยแต่ละระดับมีลักษณะดังนี้
1. ระดับล่างสุดหรือ (Transaction Processing) หมาย ถึงการใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลข้อมูลรายการต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลเป็นจำนวนมาก ๆ ในการทำงานประจำวัน จัดว่าเป็นพื้นฐานของระบบสารสนเทศในการที่จะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ สำหรับสร้างหรือจัดรูปแบบใหม่
ในรูปของรายงานที่จะเสนอระดับสูงต่อไป
2. ระดับที่สอง (Operation Control) หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับ
ผู้บริหารระดับล่าง เพื่อใช้ในการวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจเกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน
3. ระดับที่สาม (Management Control) หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับ
ผู้บริหารระดับกลาง ใช้ในการจัดการและวางแผนงานระยะสั้น ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี หรือแผนยุทธวิธีให้
ดำเนินไปตามแผนระยะสั้นนั้นได้
4. ระดับที่สี่ หรือ (Strategic Planing)หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับ
ผู้บริหารระดับสูง สำหรับใช้วางแผนระยะยาวหรือแผนกลยุทธ์
การจัดโครงสร้างทั้งสี่ระดับนี้ไม่ได้หมายความว่า การใช้สารสนเทศแยกกันโดยเด็ดขาด แต่เป็นการแบ่งเพื่อความสะดวกในการพิจารณาว่า ผู้บริหารแต่ละระดับมีความต้องการข้อมูลที่ต่างกัน ในแต่ระดับอาจต้องการสารสนเทศที่จัดเตรียมขึ้นจากระดับที่ต่ำกว่า หรือบางครั้งอาจต้องใช้ข้อมูล
ใหม่ ๆ ด้วยเช่นกัน
ลงไปเมื่อถึงยอด แบ่งออกเป็น 4 ระดับชั้น โดยแต่ละระดับมีลักษณะดังนี้
1. ระดับล่างสุดหรือ (Transaction Processing) หมาย ถึงการใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลข้อมูลรายการต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลเป็นจำนวนมาก ๆ ในการทำงานประจำวัน จัดว่าเป็นพื้นฐานของระบบสารสนเทศในการที่จะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ สำหรับสร้างหรือจัดรูปแบบใหม่
ในรูปของรายงานที่จะเสนอระดับสูงต่อไป
2. ระดับที่สอง (Operation Control) หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับ
ผู้บริหารระดับล่าง เพื่อใช้ในการวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจเกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน
3. ระดับที่สาม (Management Control) หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับ
ผู้บริหารระดับกลาง ใช้ในการจัดการและวางแผนงานระยะสั้น ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี หรือแผนยุทธวิธีให้
ดำเนินไปตามแผนระยะสั้นนั้นได้
4. ระดับที่สี่ หรือ (Strategic Planing)หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับ
ผู้บริหารระดับสูง สำหรับใช้วางแผนระยะยาวหรือแผนกลยุทธ์
การจัดโครงสร้างทั้งสี่ระดับนี้ไม่ได้หมายความว่า การใช้สารสนเทศแยกกันโดยเด็ดขาด แต่เป็นการแบ่งเพื่อความสะดวกในการพิจารณาว่า ผู้บริหารแต่ละระดับมีความต้องการข้อมูลที่ต่างกัน ในแต่ระดับอาจต้องการสารสนเทศที่จัดเตรียมขึ้นจากระดับที่ต่ำกว่า หรือบางครั้งอาจต้องใช้ข้อมูล
ใหม่ ๆ ด้วยเช่นกัน
ตัวอย่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น